นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย
รหัสนักศึกษา 61181010008
เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่
21
เมื่อสังคมโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสําคัญของการนําเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันครูในศตวรรษที่
21
จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้
ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับอาชีพครูเพราะต้องนำความรู้ในยุคสมัยนั้นๆมาสอนศิษย์
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการศึกษา
ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน
และต้องมีเทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
ฝึกให้นักเรียนทํางานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
และแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยต่อนักเรียน
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป
ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงความรู้ได้โดยง่ายทําให้ความรู้เดิมของนักเรียนของนักเรียนแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันเพราะนักเรียนสามารถค้นหาความรู้ได้ด้วยตัวเขาเอง
อยู่ที่ใครจะกระตือรือร้นในการแสวงหามากกว่ากัน ผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ย่อมมีความรู้มากกว่าผู้ที่ไม่สนใจขวนขวายหาความรู้
เมื่อเป็นเช่นนี้ครูควรตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนแต่ละคนและพยายามแก้ไขความรู้ที่ผิด
เพื่อความรู้ผิดๆ จะได้ไม่ติดตัวเขาไปซึ่งการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบระบบการสอน
ซึ่งไม่ว่าจะยุคสมัยใดการออกแบบระบบการสอนยังเป็นสิ่งจําเป็นที่ครูต้องปฏิบัติ
เพียงแต่ต้องปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย การที่ให้ครูออกแบบการสอนถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจเนื้อหาตำราที่ครูต้องการจะสอน
ออกแบบให้นักเรียนได้เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองมากกว่าการรับการถ่ายทอดจากครูผู้สอนเพื่อที่ผู้เรียนจะได้รู้แนวทางในการที่จะขวนขวายหาความรู้ว่าควรศึกษาเรื่องใดก่อนและเรื่องใดศึกษาที่หลังเพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคของครูไทย
ด้วยสภาพและวิธีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่งผลให้ครูต้องพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้สอดรับกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานของหลักสูตร
แต่การพัฒนาการศึกษาของชาติ ไม่ใช่เฉพาะภาระหน้าที่ของใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความตระหนักและช่วยกันหาทางออก
โดยปัญหาทางการศึกษาที่สําคัญก็คือ ปัญหาด้านครู
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทําหน้าที่ครู
-
ภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอน การทําหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน คือเรื่องจริงเพราะโรงเรียนในประเทศไทยให้ครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่อื่น
เช่น พัสดุบุคคล ธุรการ จนทําให้ประสิทธิภาพการสอนลดลงทําให้ครูมีเวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง
-จํานวนครูไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการสอนของครู
เช่น เมื่อครูผู้สอนไม่พอก็นำครูในโรงเรียนที่มีอยู่มาสอนอีกวิชาหนึ่งที่ตัวเองไม่ได้เรียนสาขาวิชานั้นมาแต่สามารถสอนได้แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
-ขาดทักษะทางด้านไอซีที โดยครูจํานวนมากยังขาดทักษะด้านนี้
จึงทําให้รับรู้ข้อมูล หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน อาจจะด้วยภาระงานต่างๆ
ทำให้ครูมีเวลาอยู่กับไอซีทีน้อยทำให้ไม่มีความชำนาญ
-ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู
ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดประสบการณ์ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัวทำให้การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
-ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ
ทําให้ครูแก้ปัญหาโดยยังคงยึดวิธีการสอนแบบเดิม
ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
-ขาดอิสระในการจัดการ
ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งนโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป
เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนบางวที่เรียนภาษาอังกฤษ 15 ปี
แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
>>>>>ความรู้เพิ่มเติมจ้าาาาาา<<<<<<