วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21

                                                                                                                             
                                                                                  นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย
                                                                                                                                      รหัสนักศึกษา 61181010008


เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง             เมื่อสังคมโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสําคัญของการนําเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับอาชีพครูเพราะต้องนำความรู้ในยุคสมัยนั้นๆมาสอนศิษย์ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการศึกษา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน และต้องมีเทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก ฝึกให้นักเรียนทํางานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยต่อนักเรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงความรู้ได้โดยง่ายทําให้ความรู้เดิมของนักเรียนของนักเรียนแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกันเพราะนักเรียนสามารถค้นหาความรู้ได้ด้วยตัวเขาเอง อยู่ที่ใครจะกระตือรือร้นในการแสวงหามากกว่ากัน ผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ย่อมมีความรู้มากกว่าผู้ที่ไม่สนใจขวนขวายหาความรู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ครูควรตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนแต่ละคนและพยายามแก้ไขความรู้ที่ผิด เพื่อความรู้ผิดๆ จะได้ไม่ติดตัวเขาไปซึ่งการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบระบบการสอน ซึ่งไม่ว่าจะยุคสมัยใดการออกแบบระบบการสอนยังเป็นสิ่งจําเป็นที่ครูต้องปฏิบัติ เพียงแต่ต้องปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย การที่ให้ครูออกแบบการสอนถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจเนื้อหาตำราที่ครูต้องการจะสอน ออกแบบให้นักเรียนได้เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองมากกว่าการรับการถ่ายทอดจากครูผู้สอนเพื่อที่ผู้เรียนจะได้รู้แนวทางในการที่จะขวนขวายหาความรู้ว่าควรศึกษาเรื่องใดก่อนและเรื่องใดศึกษาที่หลังเพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น  

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาและอุปสรรคของครูไทย

ด้วยสภาพและวิธีการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ครูต้องพัฒนาตนเอง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้สอดรับกับวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานของหลักสูตร แต่การพัฒนาการศึกษาของชาติ ไม่ใช่เฉพาะภาระหน้าที่ของใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความตระหนักและช่วยกันหาทางออก โดยปัญหาทางการศึกษาที่สําคัญก็คือ ปัญหาด้านครู
             ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทําหน้าที่ครู  
- ภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอน การทําหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน  คือเรื่องจริงเพราะโรงเรียนในประเทศไทยให้ครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่อื่น เช่น พัสดุบุคคล ธุรการ จนทําให้ประสิทธิภาพการสอนลดลงทําให้ครูมีเวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง-จํานวนครูไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการสอนของครู เช่น เมื่อครูผู้สอนไม่พอก็นำครูในโรงเรียนที่มีอยู่มาสอนอีกวิชาหนึ่งที่ตัวเองไม่ได้เรียนสาขาวิชานั้นมาแต่สามารถสอนได้แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
-ขาดทักษะทางด้านไอซีที โดยครูจํานวนมากยังขาดทักษะด้านนี้ จึงทําให้รับรู้ข้อมูล หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน อาจจะด้วยภาระงานต่างๆ ทำให้ครูมีเวลาอยู่กับไอซีทีน้อยทำให้ไม่มีความชำนาญ
-ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดประสบการณ์ ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัวทำให้การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
-ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น ผลการทดสอบระดับชาติที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ ทําให้ครูแก้ปัญหาโดยยังคงยึดวิธีการสอนแบบเดิม ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
-ขาดอิสระในการจัดการ ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งนโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนบางวที่เรียนภาษาอังกฤษ 15 ปี แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
       
    >>>>>ความรู้เพิ่มเติมจ้าาาาาา<<<<<<





                                                                                                                            



วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562





รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย

รหัส 61181010008


เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู

การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในสังคมยุคดิจิทัลและในการพัฒนาให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะช่วยให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันโลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร การที่โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นที่บุคคลต้องมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในการใช้ชีวิตให้เข้ากับบริบททางสังคมยุคดิจิทัลได้ การที่เราจะพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเองได้นั้น เราควรฝึกฝนบุคคลตั้งแต่เด็กเพราะการที่เราฝึกตั้งแต่เด็กจะทำให้เขามีความเข้าใจ มีความชำนาญในเรื่องต่างๆ แต่การที่ครูจะฝึกฝนเด็กได้นั้นครูควรพัฒนาตนเองให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต  

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง                                                     
UNESCO (UNESCO,1968 as cited in Sungsri, 2013) กล่าวว่า “การศึกษาสำหรับเด็กต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ การศึกษาจะไม่สิ้นสุดลงที่การสอนและการได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา แต่ควรจะเป็นกระบวนการต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ในทางกลับกันความสามารถของผู้ใหญ่ในการเรียนรู้ ในการรับการฝึกอบรม ในการพัฒนาสติปัญญาจิตใจ วัฒนธรรมก็ขึ้นอยู่โดยตรงกับคุณภาพและขอบเขตของการศึกษาที่ได้รับเมื่อเป็นเด็กหรือวัยรุ่น” เป็นเรื่องจริงเพราะการที่เรียนรู้แต่ในกรอบ ความคิดที่อยู่ในกรอบจะไม่ทำเราเกิดการเรียนรู้หรือความคิดที่สร้างสรรค์ ในตอนเด็กเราได้รับการฝึกอบรมมาเช่นไร เราก็จะเป็นคนเช่นนั้น และในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบเดิมของครู ก่อนที่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการค้นหาความรู้ ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ เอกสารตำรา หรือการได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีความล่าช้า และการออกไปค้นหาตำราต้องใช้การเดินทางซึ่งค่อนข้างไม่สะดวก แต่ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการค้นหาความรู้จึงเป็นช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกช่วงอายุ เพียงแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของ “ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” เท่านั้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู

ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับครูที่จะต้องทำงานในโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องจริงเพราะทักษะต่างๆมีความสำคัญกับการสอนเด็กเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ครูสั่งสอนลูกศิษย์ในวันนี้จะใช้ไม่ได้กับโลกอนาคต เพราะเนื่องจากอาชีพที่จะเกิดขึ้นอนาคต จะเกิดอาชีพใหม่ๆเพราะโลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้สามารถที่จะเกิดอาชีพใหม่ๆได้อีกมากมาย แบบที่คนในรุ่นปัจจุบันคาดเดาได้ยาก ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่ต้องเรียนรู้ให้ไปถึงชายขอบของพรหมแดนแห่งความรู้ในทุกเรื่องให้ได้ก่อนใครในสังคม ดังนั้น เครื่องมือที่จะมารับใช้ในการทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบความรู้ที่อยู่ในตำราและการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันจนเกิดเป็นความรู้ติดตัวนั้น เครื่องมือสำคัญ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็มีอุปสรรคต่างๆในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครูเช่นเดียวกัน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             
                                                                                       อุปสรรค ปัญหาในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีผิด
1. ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ซึ่งส่วนมากมักเกิดกับครูที่สูงอายุ หรือมีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป หรือครูที่เป็นผู้บริหาร ที่จะปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีในทุกรูปแบบ พฤติกรรมที่ไม่สามารถใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศได้ จึงไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านช่องทางนี้ แต่จะมีการค้นคว้าหาความรู้ผ่านช่องทางอื่น เช่น จากบุคคลสู่บุคคล หรือแหล่งเรียนรู้แหล่งอื่น เช่น ห้องสมุด รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
2. ทักษะการค้นคว้าข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการเข้าถึงข้อมูล คือ การใช้คีเวิร์ดในการสืบค้นที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการ หรือการไม่ทราบแหล่งสืบค้นที่มากพอรวมทั้งการไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการค้นหาข้อมูลทำให้ได้ข้อมูลที่จำกัด
3. การประเมินข้อมูล อันประกอบด้วย ความทันสมัยความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องยังเป็นอุปสรรคอยู่เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ตลอดชีวิต นั้น มีข้อมูลมากมายมหาศาลที่ปรากฏในเว็บไซด์ การพิจารณาแหล่งข้อมูล เช่น URL ผู้เขียน และหน่วยงานที่ให้ข้อมูล
จากอุปสรรคปัญหาในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครูที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่ดิฉันเห็นด้วยเพราะ
1.ครูที่มีอายุมากๆจะไม่เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีเพราะสมัยก่อนการสือบค้นช้อมูลจะสืบค้นจากตำรา เอกสาร ถามผู้เชี่ยวชาญ พอมีเทคโนโลยีเข้ามาเขาก็ไม่ได้สนใจที่จะใช้เทคโนโลยีเพราะเขาคุ้นเคยกับการค้นคว้าที่เคยทำมาตั้งแต่เด็กๆ
2.การค้นหาข้อมูลในบางครั้งได้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความต้องการ อาจจะเป็นเพราะคำจัดความในด้านการหา การไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการค้นหา
3.ความน่าเชื่อถือลดน้อยลงเพราะบางเว็บไซต์ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา การพิจารณาแหล่งข้อมูลมีความบิดเบือน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครูถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันเพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกช่วงวัยสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัด



ดูวีดีโอเพิ่มเติมความรู้จ้าาาาาาาาาา💓💓💓