วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562

แบบทดสอบคำสรรพนาม


แบบทดสอบคำสรรพนาม


https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfqkDdj5HuUxMratMFKWa-ciOCdkrULtBZQgy3wCpga0haB5w/viewform?usp=sf_link


https://forms.gle/5GSRNLrSDCr3hCWj9

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

คำบาลีในภาษาไทย

             
                                                                                             นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
                                                                                             รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘

                                       คำบาลีในภาษาไทย 

ภาษาบาลีมีหน่วยเสียง ๒ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเรียนหนังสือ๑.หน่วยเสียงสระ

หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี ๘ หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

๒.หน่วยเสียงพยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง คือ พยัญชนะวรรค และเศษวรรค

วิธีสังเกตคำบาลี

สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น

เช่น    ทุกข์  =  ตัวสะกด

ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น  สัตย  สัจจ  ทุกข  เป็นต้น  คำในภาษาบาลี

จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี ๓๓ ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้ 

แถวที่
๑      
๓      
วรรค กะ ฐานคอ     
ฆ        
วรรค จะ ฐานเพดาน  
ฉ       
วรรค ฏะ ฐานปุ่มเหงือก  
ฏ 

วรรค ตะ ฐานฟัน            
      ถ
       ท
      ธ
วรรค ปะ ฐานริมฝีปาก
      ผ
       พ
      ถ        
เศษวรรค
              อัง

มีหลักสังเกตดังนี้

ก.พยัญชนะตัวที่ ๑ , ๓ , ๕ เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)

ข.ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๑ สะกด ตัวที่ ๑ หรือตัวที่ ๒ เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ

ปัจฉิม  สัตต   หัตถ  บุปผา เป็นต้น

ค.ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๓  สะกด ตัวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน  เช่น

อัคคี   พยัคฆ์  วิชชา  อัชฌา  พุทธ  คพภ  (ครรภ์)

ง.ถ้าพยัญชนะตัวที่  ๕  สะกด  ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์

สัมปทาน  สัมผัส  สัมพันธ์  สมภาร  เป็นต้น

จ.พยัญชนะบาลี  ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้

สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ”  จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ

อาสาฬห์  วิฬาร์  โอฬาร์  พาฬ  เป็นต้น

สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เช่น

          บาลี             ไทย              บาลี             ไทย

          รัฎฐ              รัฐ                อัฎฐิ             อัฐิ

          ทิฎฐิ             ทิฐิ               วัฑฒนะ        วัฒนะ

          ปุญญ           บุญ              วิชชา            วิชา

          สัตต             สัต                เวชช             เวช

          กิจจ              กิจ               เขตต             เขต

          นิสสิต           นิสิต             นิสสัย            นิสัย

ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์   กิจจะลักษณะ  เป็นต้น

ตัวอย่างคำบาลี


กกุธภัณฑ์            กช                         กฐิน                                     กณิกนันต์
กตัญชลี                กตัญญู                  กติกา                                   กทลี
กนก                      กบาล                    กบี่                                       กโบร
กโบล                   กปิ                        กมลา                                   กร
กรชกาย               กรณี                      กรด                                     กรรตุวาจก
กรรมกร               กรรมฐาน             กระบี่                                   กระยาจก
กรัชกาย               กรี                         กรีส                                     กลี
กวี                         กเฬวระ                กเฬวราก                             กักขฬะ
กังขา                    กัจฉปะ                กัจฉะ                                  กัจฉา
กัญญา                  กัณฐ                     กัณฐ์                                    กัณฐา
กัณฑ์                    กัณณ์                    กัตติกมาส                          กัทลี
กันดาร                 กัป                        กัมมัฏฐาน                           กัมมาร
กัมลาศ                 กัยวิกัย                  กัลยาณ                                กาก
กากคติ                 กากณึก                กากภาษา                            กากะ
กากี                       กาม                       กามเทพ                              กาย
                                             



  อยากมีความรู้เยอะๆกดค่ะ






คำสันสกฤตในภาษาไทย


                                                                                          นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
                                                                                          รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘


                                  คำสันสกฤตในภาษาไทย

สันสกฤตมีหน่วยเสียง ๒ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง๑.หน่วยเสียงสระ

หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ

๒.หน่วยเสียงพยัญชนะ

ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ

วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้

๑.พยัญชนะสันกฤต มี ๓๕ ตัว คือ พยัญชนะบาลี ๓๓ ตัว  + ๒ ตัว  คือ ศ 
ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ  มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น  ศอก  ศึก  ศอ  เศร้า  ศก ดาษ  กระดาษ ฝรั่งเศส  ฝีดาษ  ฯลฯ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง๒.ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน  ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้
๓.ไม่กำหนดตายตัว เช่น  อัปสร  เกษตร  ปรัชญา  อักษร เป็นต้น 
๔.สังเกตจากสระ สระในภาษาบาลี มี  8  ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ  
ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี  8 ตัว +  เพิ่มอีก 6  ตัว  คือ สระ ฤ  ฤา ภ ภา   ไอ  เอา 
ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์
เสาร์  ไปรษณีย์  ฤาษี  คฤหาสน์ เป็นต้น
๕.สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น
จักร  อัคร  บุตร  สตรี  ศาสตร์  อาทิตย์  จันทร์ เป็นต้น
๖.สังเกตจากคำที่มีคำว่า “เคราะห์” มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์
สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น
สังเกตจากคำที่มี  “ฑ”  อยู่  เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
๗.สังเกตจากคำที่มี  “รร”  อยู่ เช่น สรรค์  ธรรม์  วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์
มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต

          ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้

          ๑.  ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกันเรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า เช่น

          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย

          กมฺม                                กรฺม                                 กรรม

          จกฺก                                 จกฺร                                 จักร 



         ๒.ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น

          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย

          ครุฬ                                 ครุฑ                                ครุฑ

          โสตฺถิ                               สฺวสฺติ                               สวัสดี

          ๓.คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น

          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย

          ขนฺติ                                กฺษานฺติ                            ขันติ

          ปจฺจย                               ปฺรตฺย                              ปัจจัย

          ๔.รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น

          บาลี                                สันสกฤต                          ไทย

          กณฺหา                              กฺฤษฺณา                          กัณหา,กฤษณา

          ขตฺติย                               กฺษตฺริย                           ขัตติยะ,กษัตริย์

          ๕.คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่ บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น

          บาลี                       สันสกฤต                ไทย             ความหมาย

          กิริยา                      กฺริยา                     กิริยา            อาการของคน

                                                                     กริยา            ชนิดของคำ

          โทส                       เทฺวษ                      โทสะ            ความโกรธ

                                                                     เทวษ            ความเศร้าโศก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเรียนหนังสือ
             

                                                  ความรู้เพิ่มเติมคร่าาาาา






คำสนธิ


                                                                                 นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
                                                                                 รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘
             

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำสนธิ

          คำสนธิ คือการสมาสโดยการเชื่อมคำเข้าระหว่างพยางค์หลังของคำหน้ากับพยางค์หน้าขอคำหลังเป็นการย่ออักขระให้น้อยลงเวลาอ่านจะเกิดเสียงกลมกลืนเป็นคำเดียวกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเรียนหนังสือหลักสังเกตคำสนธิในภาษาไทย 
การสนธิแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ 
๑. สระสนธิ 
๒. พยัญชนะสนธิ 
๓. นฤคหิตสนธิ 
การสนธิแบบไทย   มีหลักดังนี้
. ต้องเป็นคำ ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
. ศัพท์ประกอบไว้หน้า ศัพท์หลักไว้หลัง
. แปลจากหลังมาหน้า
. ถ้าเป็นสระสนธิ ศัพท์ตัวหลังจะขึ้นต้นด้วย ตัว อ

. มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ตามหลักที่จะกล่าวต่อไป
       ๑สระสนธิ คือการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นค้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้ว
จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระตามกฏเกณฑ์
       - ตัดสระพยางค์ท้ายคำหน้า แล้วใช้สระพยางค์หน้าคำหลัง เช่น
ราช + อานุภาพ
=
ราชานุภาพ
สาธารณ + อุปโภค
=
สาธารณูปโภค
นิล + อุบล
=
นิลุบล
      - ตัดสระพยางค์ท้านคำหน้า และใช้สระพยางค์ต้นของคำหลัง โดยเปลี่ยนสระพยางค์ต้น
ของคำหลัง
                          อะ
เป็น
อา
                          อิ
เป็น
เอ
                          อุ
เป็น
อู
                          อุอู
เป็น
โอ     
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง      เช่น
พงศ + อวตาร
=
พงศาวตาร
             
ปรม + อินทร์
=
ปรเมนทร์
มหา + อิสี
=
มเหสี
          เปลี่ยนสระพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นพยัญชนะ คือ
อิ อี
เป็น
อุ อู
เป็น
ใช้สระพยางค์ต้นของคำหลังซึ่งอาจเปลี่ยนรูปหรือไม่เปลี่ยนรูปก็ได้ ในกรณีที่สระพยางค์ต้น
ของคำหลังไม่ใช่ อิ อี อุ อู อย่างสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น 

กิตติ + อากร
=
กิตยากร
สามัคคี + อาจารย์
=
สามัคยาจารย์
ธนู + อาคม
=
ธันวาคม
    
คำสนธิบางคำไม่เปลี่ยนสระ อิ อี เป็น ย แต่ตัดทิ้ง ทั้ง สระพยางค์หน้าคำหลังจะไม่มี
อิ อี ด้วยกัน เช่น
ศักคิ + อานุภาพ
=
ศักดานุภาพ
ราชินี + อุปถัมภ์
=
ราชินูปถัมภ์
หัสดี + อาภรณ์
=
หัสดาภรณ์
       ๒.พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำด้วยพยัญชนะเป็นการเชื่อมเสียง พยัญชนะในพยางค์ท้าย
ของคำแรกกับเสียงพยัญชนะหรือสระในพยางค์แรก ของคำหลัง เช่น
      -สนธิเข้าด้วยวิธี โลโป คือลบพยางค์สุดท้ายของคำหน้าทิ้ง เช่น
นิรส + ภัย
=
นิรภัย
ทุรส + พล
=
ทุรพล
อายุรส + แพทย์
=
อายุรแพทย์
      -สนธิเข้าด้วยวิธี อาเสโท คือแปลงพยัญชนะท้ายของคำหน้า เป็นสระ โอ แล้วสนธิตามปกติ  เช่น


มนส + ภาพ
=
มโนภาพ
ยสส + ธร
=
ยโสธร
รหส + ฐาน
=
รโหฐาน
๓. นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำด้วยนฤคหิต เป็นการเชื่อมเมื่อพยางค์หลังของคำแรกเป็น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเรียนหนังสือนฤคหิตกับเสียงสระในพยางค์แรกของคำหลัง มี 3 วิธี คือ
       ๑นฤคหิตสนธิกับสระ ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็น ม แล้วสนธิกัน
          เช่น สํ + อาคม = สม + อาคม = สมาคม
           สํ + อุทัย = สม + อุทัย = สมุทัย
       ๒. นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะของวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของ
พยัญชนะในแต่ละวรรค ได้แก่
                  วรรคกะ เป็น ง
                  วรรคจะ เป็น ญ
                  วรรคตะ เป็น น
                  วรรคฏะ เป็น ณ
                  วรรคปะ เป็น ม
           เช่น สํ + จร = สญ + จร = สัญจร
           สํ + นิบาต = สน + นิบาต = สันนิบาต
      ๓. วรรคกะ เป็นสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค ให้เปลี่ยนนฤคหิต เป็น ง
          เช่น สํ + สาร = สงสาร
          สํ + หรณ์ = สังหรณ์
ตัวอย่างคำสนธิ
นครินทร์
ราโชวาท
ราชานุสรณ์
คมนาคม
ศิษยานุศิษย์
ราชินยานุสรณ์
สมาคม
จุลินทรีย์
มหิทธิ
นภาลัย
ธนาณัติ
สินธวานนท์
ราชานุสรณ์
จุฬาลงกรณ์
มโนภาพ
รโหฐาน
หัสดาภรณ์
จักขวาพาธ
หัตถาจารย์
วัลยาภรณ์
อินทรธิบดี
มหัศจรรย์
มหรรณพ
มหานิสงส์
ภยาคติ
บรรณารักษ์
เทพารักษ์
ทันตานามัย
สินธวาณัติ
ศิลปาชีพ
ปรเมนทร์
ทุตานุทูต
กุศโลบาย
ราโชบาย
ชลาลัย
สุโขทัย
สมาทาน
สุริโยทัย
ขีปนาวุธ
บดินทร์
อนามัย
สังหรณ์
กินนรี
สโมสร
พลานามัย
นิรภัย
คณาจารย์
มีนาคม
กุมภาพันธ์
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ทุรชาติ
ยโสธร
อมรินทร์
หัสดินทร์
มหินทร์
อายุรเวช
อุปรากร
ทรัพยากร
จุฬาภรณ์
ราชูปโภค
ราชินทร์เคหาภิบาล
สุรางค์
จินตนาการ
วิทยาการ
หัสดินทร์
มัคยาจารย์
รังสิโยภาส
นีโลตบล
โภไคศวรรย์
บดินทร์
สมณาจารย์
ราชินูปถัมภ์
วิเทโศบาย
กตัญชลี
                                                         

                                                              ความรู้เพิ่มเติมค่ะ