วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

คำประสม.


                                                                    นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
                                                        รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำประสม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำประสมคำประสม     คือ   คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่     คำขึ้นไปมารวมกันเข้าเป็นคำเดียว   กลายเป็นคำใหม่   มีความหมายใหม่   แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่   เช่น   ลูกเสือ ( นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ )    แสงอาทิตย์  ( งูชนิดหนึ่งมีเกล็ดสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ซึ่งแปลกกว่างูชนิดอื่น  ๆ )    หางเสือ  ( ที่บังคับทิศทางเรือ )   แต่ถ้าลูกเสือ  หมายถึง  ลูกของเสือ   แสงอาทิตย์  หมายถึง  แสงของดวงอาทิตย์        หางเสือ  หมายถึง   หางของเสือ   อย่างนี้ไม่จัดเป็นคำประสม   เพราะไม่เกิดความหมายใหม่ขึ้น  จัดเป็นวลีที่เกิดจากการเรียงคำธรรมดาเท่านั้น
  คำประสมภาษาไทยเกิดขึ้นได้หลายกรณี   ดังนี้   
 ๑.  เกิดจากคำไทยประสมกับคำไทย  เช่น
         ไฟ       +        ฟ้า      =        ไฟฟ้า
          ตาย    +        ใจ      =        ตายใจ
          ผัด     +        เปรี้ยว           +        หวาน            =        ผัดเปรี้ยวหวาน

๒.  เกิดจากคำไทยประสมกับคำต่างประเทศ   เช่น
ไทย    +        บาลี    =        หลัก   +        ฐาน    -         หลักฐาน
บาลี    +        ไทย    =        ราช    +        วัง       -         ราชวัง
ไทย    +        สันสฤต         =        ทุน     +        ทรัพย์ -         ทุนทรัพย์
ไทย    +        สันสฤต         =        ตัก      +        บาตร  -         ตักบาตร
รูปภาพที่เกี่ยวข้องไทย    +        เขมร   =        นา      +        ดำ      -         นาดำ
ไทย    +        เขมร   =        นา      +        ปรัง    -         นาปรัง
จีน      +        ไทย    =        หวย    +        ใต้ดิน  -         หวยใต้ดิน
ไทย    +        จีน      =        ผ้า      +        ผวย    -         ผ้าผวย
ไทย    +        อังกฤษ         =        เหยือก          +        น้ำ     -         เหยือกน้ำ
ไทย    +        อังกฤษ         =        พวง    +        หรีด    -         พวงหรีด
๓.   เกิดจากคำต่างประเทศประสมกับคำต่างประเทศ   เช่น
 บาลี   +        จีน      -         รถ      +        เก๋ง     -         รถเก๋ง
บาลี    +        สันสฤต         -         กิตติ   +        ศัพท์   -         กิตติศัพท์
จะเห็นว่า   คำประสมเกิดขึ้นได้จากการรวมตัวกันระหว่างคำไทยกับคำไทย    คำไทยกับคำต่างประเทศ  และคำต่างประเทศกับคำต่างประเทศ 
ชนิดของคำที่เอามาประสมกัน
คำไทยมีอยู่      ชนิด   คือ   คำนาม   คำสรรพนาม   คำกริยา   คำวิเศษณ์   คำบุพบท   คำสันธาน และ  คำอุทาน แต่คำไทยทั้ง      ชนิด   นี้มิใช่จะเอามาประสมกันได้ทั้งหมด   
คำที่ใช้ประสมกันได้เท่าที่ปรากฏ   มีดังนี้
๑.  คำนามประสมกับคำนาม
 เช่น     พ่อตา     แม่ยาย     ลูกน้อง     หน้าม้า     ลิ้นปี่     คอยหอย     หีบเสียง
กล้วยแขก           แม่น้ำราชวัง
๒.  คำนามประสมกับคำกริยา
 เช่น     นักร้อง     หมอดู     บ้านพัก     เรือบิน     ยาถ่าย     รถเข็น     ไก่ชน    
คานหาม     น้ำค้าง     คนเดินตลาด
๓.  คำนามประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น     น้ำแข็ง     เบี้ยล่าง     หัวใส     หัวหอม     ใจดี     ใจเย็น     ม้าเร็ว     น้ำหวานปากเบา     ปลาเนื้ออ่อน
๔.  คำนามประสมกับคำลักษณะนาม
เช่น     วงแขน     วงกบ     ดวงหน้า     ลูกชิ้น     ดวงใจ     เพื่อนฝูง
๕.  คำนามประสมกับคำสรรพนาม
เช่น     คุณยาย     คุณพระ     คุณหลวง
๖.   คำกริยาประสมกับคำกริยา
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง เช่น     ตีพิมพ์     เรียงพิมพ์     พิมพ์ดีด     นอนกิน     ฟาดฟัน     กันสาด     ตีชิง
ห่อหมก     เที่ยวขึ้น     เที่ยวล่อง
๗.  คำกริยาประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น     ลงแดง     ยินดี     ถือดี     ยิ้มหวาน     สายหยุด     ดูถูก     ผัดเผ็ด     ต้มจืด
บานเย็น     บานเช้า
๘.  คำวิเศษณ์ประสมกับคำวิเศษณ์
เช่น     หวานเย็น     เขียนหวาน     เปรี้ยวหวาน     คำขำ     คมขำ     คมคาย
การพิจารณาคำประสม
คำประสมมีลักษณะเป็นกลุ่มคำหรือวลี   การพิจารณากลุ่มคำใด    ว่าเป็นคำประสมหรือไม่นั้น   สามารถพิจารณาได้จากลักษณะต่อไปนี้
๑.  พิจารณาลักษณะการเรียงคำและความหมาย      คำประสมจะเรียงคำหลักไว้ข้างหน้า   คำที่เป็นเชิงขยายจะเรียงไว้ข้างหน้า   ความหมายที่เกิดขึ้นจะเป็นความหมายใหม่โดยมีเค้าความหมายเดิมอยู่   เช่น
ลูกน้ำ  หมายถึง        ลูกยุง  เป็นคำประสม
ไฟฟ้า  หมายถึง        พลังงานชนิดหนึ่ง     เป็นคำประสม
เบี้ยล่าง         หมายถึง        เสียเปรียบ     เป็นคำประสม
ยิงฟันหมายถึงการเผยอริมฝีปากให้เห็นฟันเป็นคำประสม
 แต่ถ้าหมายถึงการทำร้ายหรือยิงฟัน  ( ฟัน  =   อวัยวะ )      ก็ไม่เป็นคำประสม
เป็นเพียงวลีธรรมดา  เพราะถึงแม้จะเรียงคำเหมือนกันก็ตาม แต่ความหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
 เว้นจังหวะ       หมายถึง           การหยุดไว้ระยะ               ไม่เป็นคำประสม
คนหนึ่ง           หมายถึง           คน    เดียว                       ไม่เป็นคำประสม
๒.  พิจารณาจากลักษณนาม  ที่ใช้กับคำที่สงสัยว่าจะเป็นคำประสมหรือไม่โดยลองแยกดูว่าคำลักษณนามนั้นเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกันหรือเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะถ้าเป็นลักษณนามของทั้งสองคำร่วมกันกลุ่มคำนั้นก็เป็นคำประสมแต่ถ้าเป็นของคำหนึ่งคำใดโดยเฉพาะกลุ่มคำนั้นก็ไม่เป็นคำประสมเช่น
 ลูกตา   คน       นี้เสียแล้ว         คำว่า    ลูกตา   ไม่เป็นคำประสม   พิจารณาจากลักษณนาม  “ คน ”   เป็นลักษณะนามของตา   ซึ่งเป็นคน
 ลูกตา   ข้าง      นี้เสียแล้วคำว่าลูกตา  เป็นคำประสม   พิจารณาจากลักษณะนาม    “ ข้าง”   เป็นลักษณะนามลูกตา  ( อวัยวะ )
  รถเจ๊ก  คน       นี้เก่ามากคำว่ารถเจ๊ก    ไม่เป็นคำประสม    รถเจ๊ก  คันนี้เก่ามาก    คำว่ารถเจ๊ก เป็นคำประสม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง๓.  พิจารณาจากความหมายในประโยค   หรือดูจากข้อความที่แวดล้อมคำซึ่งเราสงสัย       ในประโยคบางประโยค      หรือในข้อความบางข้อความ   เราไม่สามารถบ่งออกไปได้ทันทีว่าคำใดเป็นคำประสม   จนกว่าเราจะได้พิจารณาความหมายของคำนั้นให้ชัดเจนเสียก่อน   เช่น   ในประโยคต่อไปนี้
ก.นั่นลูกเลี้ยงใคร
ข.นั่นลูกเลี้ยงของใคร
ค.นั่นลูกเลี้ยงใครไว้
 คำว่าลูกเลี้ยงในข้อ
ก.เป็นได้ทั้งคำประสมและไม่ใช่คำประสม ถ้ามีข้อความอื่น     
หรือเหตุการณ์มาชี้ให้เห็นว่า   ผู้พูดประโยคนี้กำลังหมายถึงใครคนหนึ่งคำว่า  “ ลูกเลี้ยง ”    ก็จะเป็นคำประสม   แต่ถ้าผู้พูดกำลังถามลูกของตัวเองว่าเลี้ยงใครอยู่   คำว่าลูกเลี้ยงก็ไม่เป็นคำประสม  
ส่วนคำว่าลูกเลี้ยงในข้อ  ข.ข้อความใกล้เคียงบ่งชี้ว่าเป็นคำประสม อย่างไม่มีปัญหา   
ส่วนข้อ   ค.  คำว่าลูกเลี้ยงไม่ได้เป็นคำประสมคำว่าลูกเป็นนามและคำว่าเลี้ยงเป็นกริยาของประโยค
หรือ   ประโยคว่า  “ ลูกน้องของเธอมาแล้ว ”    คำว่าลูกน้อง   ก็อาจจะเป็นได้ทั้งคำประสมและไม่ใช้คำประสมเราจะตัดสินได้ก็ต่อเมื่อมีข้อความอื่นมาขยายหรือเราอยู่ในเหตุการณ์ที่กำลังพูดประโยคนี้อยู่ด้วยหรือสังเกตการเน้นคำก็ได้   เพราะคำว่า   ลูกน้อง   อาจมีความหมายว่า   ลูก  ( ของ )  น้อง  ( ไม่เป็นคำประสม )  หรือ  ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ  ( ของเธอ )   ( เป็นคำประสม )   เป็นต้น
ประโยชน์ของคำประสม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำประสม   ๑.  ทำให้มีคำใช้ในภาษามากขึ้นโดยใช้คำที่มีอยู่แล้วเอามารวมกันทำให้เกิดคำใหม่ ได้ความหมายใหม่
 ๒.  ช่วยย่อความยาวๆให้สั้นเข้าเป็นความสะดวกทั้งในการพูดและการเขียน   เช่น
นักร้อง          =          ผู้ที่ชำนาญในการร้องเพลง
ชาวนา          =          ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในผืนนา
หมอนวด      =          ผู้ที่ชำนาญในการนวด
  ๓.        ช่วยให้การใช้คำไทยที่มาจากภาษาต่างประเทศ       ประสมกลมกลืนกับคำไทยแท้ได้สนิท   เช่น
พลเมือง        =          พล   ( บาลี )   +   เมือง   ( ไทย )
เสื้อเชิ้ต         =          เสื้อ  ( ไทย )   +    เชิ้ต   ( อังกฤษ  -  shirt )
รถเก๋ง           =          รถ     ( บาลี )   +   เก๋ง   ( จีน )

                                            ความรู้เพิ่มเติมกดคร่าาาาาาาาาาาาา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น