นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘
คำบาลีในภาษาไทย
ภาษาบาลีมีหน่วยเสียง ๒ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี ๘ หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
๒.หน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง คือ พยัญชนะวรรค และเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี
สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
ตัวสะกด คือ
พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระประสมกับสระและพยัญชนะต้น
เช่น ทุกข์ = ตัวสะกด
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น คำในภาษาบาลี
จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ
โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี ๓๓ ตัว
แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้
แถวที่
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
วรรค
กะ ฐานคอ
|
ก
|
ข
|
ค
|
ฆ
|
ง
|
วรรค
จะ ฐานเพดาน
|
จ
|
ฉ
|
ช
|
ฌ
|
ญ
|
วรรค
ฏะ ฐานปุ่มเหงือก
|
ฏ
|
ฐ
|
ฑ
|
ฒ
|
ณ
|
วรรค
ตะ ฐานฟัน
|
ต
|
ถ
|
ท
|
ธ
|
น
|
วรรค
ปะ ฐานริมฝีปาก
|
ป
|
ผ
|
พ
|
ถ
|
ม
|
เศษวรรค
|
ย ร ล ว ส ห ฬ อัง
|
มีหลักสังเกตดังนี้
ก.พยัญชนะตัวที่ ๑ , ๓ , ๕ เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
ข.ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๑ สะกด ตัวที่ ๑ หรือตัวที่ ๒ เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ
ทุกข สัจจ
ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
ค.ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๓ สะกด ตัวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น
อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คพภ (ครรภ์)
ง.ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๕ สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์
สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ.พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
สังเกตจากพยัญชนะ “ฬ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น
เช่น จุฬา ครุฬ
อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น
สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น
บาลี ไทย บาลี ไทย
รัฎฐ รัฐ อัฎฐิ อัฐิ
ทิฎฐิ ทิฐิ วัฑฒนะ วัฒนะ
ปุญญ บุญ วิชชา วิชา
สัตต สัต เวชช เวช
กิจจ กิจ เขตต เขต
นิสสิต นิสิต นิสสัย นิสัย
ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก
เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
ตัวอย่างคำบาลี
อยากมีความรู้เยอะๆกดค่ะ
ตัวอย่างคำบาลี
อยากมีความรู้เยอะๆกดค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น