วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

คำสมาส


                                                                                    นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาวิชาภาษาไทย
                                                                                    รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘
 
                                     
                                           
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ป้ายคำสมาส

คำสมาส  คือ การสร้างคำขึ้นใหม่โดยการนำคำมูลบาลีหรือสันสกฤตตั้งแต่สองคำขึ้นไปซึ่งมี ความหมายต่างกันมาเรียงต่อกันแล้วเกิดคำใหม่และมีความหมายใหม่  เวลาอ่านก็อ่านเพิ่มพยางค์สุดท้ายของคำแรกและแปลจากหลังไปหน้า เช่น
ประวัติ() + ศาสตร์(.)   =  ประวัติศาสตร์ (ประ -หวัด - ติ - สาด)  แปลว่า วิชาว่าด้วยเรื่องเก่าแก่

วิธีสังเกตคำสมาส
.  คำที่นำมาสมาสกันต้องเป็นคำบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น   เช่น
      มูล ( . )    +   นิธิ ( . )              =       มูลนิธิ
      วรรษ ( . ) +   ฤดู ( . )              =       วรรษฤดู
      หัตถ ( . )  +   ศึกษา ( . )         =       หัตถศึกษา
      วิทย  (ส.)    +   ฐานะ  (บ.)          =        วิทยฐานะ 
๒. การแปลความหมายแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า  เช่น        
      อุทก (น้ำ)   +   ภัย (อันตราย)            =   อุทกภัย (ภัยอันตรายจากทางน้ำ)
      รัตติ (กลางคืน) + กาล (เวลา)            =    รัตติกาล (เวลากลางคืน)
การอ่านออกเสียงต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องหรืออ่านออกเสียงเพิ่มพยางค์สุดท้าย    ของ  คำหน้า เช่น
     พฤติ + กรรม      =     พฤติกรรม (พฺรึด - ติ - กำ)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนเรียนหนังสือ     กาย  + ภาพ        =     กายภาพ (กาย - ยะ - พาบ)
ถ้าพยางค์ท้ายของคำหน้ามีวิสรรชนีย์ หรือ ทัณฑฆาต  เมื่อเข้าสมาสแล้วต้องตัด            วิสรรชนีย์ หรือทัณฑฆาตออก  เช่น
     ธุระ  +  กิจ          =   ธุรกิจ
     มนุษย์ + ธรรม    =    มนุษยธรรม
.  คำราชาศัพท์ที่มีคำว่าพระนำหน้าคำมูลบาลีหรือสันสกฤต จัดว่าเป็นคำสมาส  เช่น
      พระ  +  พักตร์ (.)   =    พระพักตร์
      พระ  +  บิดา (.)      =    พระบิดา
 .   คำบาลีหรือสันสกฤตที่มีคำว่า  “ ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศิลป์ ศึกษา สถาน ธรรม กร วิทยา”  ต่อท้ายถือว่าเป็นคำสมาส   เช่น
จิตศาสตร์ โจรกรรม ภราดรภาพ อัคคีภัย นาฏศิลป์ อาชีวศึกษา เทวสถาน นิติกร  วัฒนธรรม จิตวิทยา
ข้อสังเกต
๑.มีคำสมาสบางคำไม่อ่านออกเสียงพยางค์สุดท้ายของคำหน้าแต่อ่านตามความนิยม เช่น                                              
   ชลบุรี  (ชน - บุ - รี)                    
   สุพรรณบุรี  (สุ - พัน - บุ -รี)
   สมุทรปราการ (สะ - หฺมุด - ปฺรา - กาน)  ฯลฯ
 .มีคำสมาสบางคำที่เป็นคำหลักทั้งสองคำ จะแปลจากหน้าไปหลังหรือจากหลังไปหน้า   ก็ได้  แต่เวลาอ่านจะต้องอ่านออกเสียงต่อเนื่องกัน เช่น
    บุตร  +  ภรรยา         =   บุตรภรรยา (บุด - ตฺระ - พัน - ระ - ยา)
    สมณ  +  พราหมณ์   =   สมณพราหมณ์ (สะ - มะ - นะ - พฺราม)
ยกเว้น         ประธานสภา   ผลบุญ  ประวัติบุคคล  ประวัติชีวิต  ราชวัง  ผลไม้  พระสาง  พระเขนย 

วิธีอ่านคำสมาส
.  ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำหน้าเป็นเสียง “อะ” ให้ออกเสียง “อะ” กึ่งเสียง เช่น
     โบราณ + คดี        =     โบราณคดี (โบ - ราน - นะ - คะดี)
     สัตว  +  แพทย์      =     สัตวแพทย์ (สัด - ตะ -วะ - แพด)     
     คุณ  +  วุฒิ           =     คุณวุฒิ  (คุน – นะ – วุด – ทิ)
.  ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำหน้าเป็นเสียง “อิ” ให้ออกเสียง “อิ” เช่น
     ภูมิ  +  ภาค           =      ภูมิภาค (พู - มิ - พาก)
     เกียรติ  + คุณ        =      เกียรติคุณ  (เกียด – ติ – คุน)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง   อุบัติ  +  เหตุ          =      อุบัติเหตุ  (อุ – บัด – ติ – เหด)
   ยกเว้น   ชาติ +  นิยม          =      ชาตินิยม (ชาด - นิ – ยม)
.  ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำหน้าเป็นเสียง “อุ” ให้อ่านออกเสียง “อุ”  เช่น
      เกตุ  +  มาลา         =      เกตุมาลา (เกด - ตุ - มา -ลา)
     ธาตุ  +  สถูป         =      ธาตุสถูป (ทาด - ตุ - สะ -ถูบ)
.  ถ้าพยางค์สุดท้ายของตัวหน้าเป็นตัวควบกล้ำ  ให้อ่านออกเสียงควบกล้ำด้วย  เช่น
      เกษตร + กรรม     =      เกษตรกรรม (กะ - เสด - ตฺระ - กำ)
      มิตร    + ภาพ        =      มิตรภาพ (มิด - ตฺระ - พาบ)
.  คำว่า “บรม  ราช” เป็นคำสมาสต้องอ่านออกเสียง “-มะ- , -ชะ-”  เช่น
      พระราชกรณียกิจ                อ่านว่า    พฺระ - ราด - ชะ - กะ - ระ - นี - ยะ - กิด
      พระบรมราชูปถัมภ์             อ่านว่า    พฺระ - บอ - รม - มะ - รา - ชู - ปะ - ถำ

                                       😘😘เพิ่มเติมความรู้😘😘









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น