วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

คำวิเศษณ์

                                                                         
                                                                                            นางสาวจันทร์จิรา เรืองฤทธิ์ สาขาภาษาไทย
                                                                                            รหัส ๖๑๑๘๑๐๑๐๐๐๘

 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำวิเศษณ์
ความหมายของคำวิเศษณ์


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
คำวิเศษณ์  คือ  คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม  คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เอง เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนขึ้น  คำวิเศษณ์มักจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย


ชนิดของคำวิเศษณ์
หลักภาษาไทยได้แบ่งคำวิเศษณ์ออกเป็น ๑๐ ชนิด  ดังนี้

๑. ลักษณวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกลักษณะของคำนั้น ๆ อาจบอกชนิดขนาด  สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอาการ เช่น
                      ดอกมะลิมีกลิ่นหอม         (บอกกลิ่น)
                      ปากกาสีดำตกอยู่ใต้โต๊ะ (บอกสี)


๒. กาลวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา เช้า  สาย บ่าย โบราณ ปัจจุบัน อดีต อนาคต เช่น
                         เมื่อคืนนี้ลมพัดแรงมาก
                         เขาไปเรียนพิเศษทุกวัน


๓. สถานวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ ไกล ใกล้  บน ล่าง เหนือ ใต้ เช่น
                         เขาเป็นคนอีสาน
                         โรงเรียนของฉันอยู่ไกล


๔. ประมาณวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกจำนวนนับ  หนึ่ง สอง ที่หนึ่ง ที่สอง หรือบอกปริมาณ  มาก น้อย จุ หมด อันลำ ทั้งหมด บาง บ้าง  ต่าง เช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำวิเศษณ์
                         เขากินข้าวจุ
                         ฉันสอบได้ที่หนึ่ง
๕. ปฤจฉาวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงความสงสัยหรือเป็นคำถามว่าใคร ทำไม ที่ไหน เท่าไร อะไร เช่น
                         คนไหนเรียนเก่ง
                         คุณชอบรับประทานอาหารประเภทใด

๖.  นิยมวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกความแน่นอน  ความชัดเจนว่าเป็นสิ่งนี้ สิ่งนั้น นี่ นั้น  เอง แน่นอน เช่น
                         ฉันเองที่ทำแก้วแตก
                         พรุ่งนี้ผมจะไปหาคุณแน่นอน
ข้อสังเกตควรจำ
คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยาย  แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค  จัดเป็นนิยมสรรพนาม เช่น
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง  (นิยมวิเศษณ์)

นี่คือแม่ของฉัน                    (นิยมสรรพนาม)
 ๗. อนิยมวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น โดยไม่บอกกำหนดแน่นอนลงไปว่า เมื่อไร  ที่ไหน อย่างไร ทำไม เช่น
                      เหตุใดเธอรีบกลับบ้าน
                      ฉันจำไม่ได้ว่าเขาชอบสีอะไร
ข้อสังเกตควรจำ
คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยายเท่านั้น  แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค จัดเป็นอนิยมสรรพนาม  เช่น
                     เธอทำอะไรย่อมรู้อยู่แก่ไจ         (อนิยมวิเศษณ์)

                     อะไรฉันก็กินได้                    (อนิยมสรรพนาม)
๘. ประติชญาวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงอาการรับรอง โต้ตอบ  ขานรับ ว่า จ๊ะ จ๋า คะ เออ พะยะค่ะ เช่น
                  ท่านครับผมขอลาหยุด ๑ วัน
                  คุณคะเชิญทางนี้ค่ะ
๙. ประติเษธวิเศษณ์คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงความไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ หามิได้  เช่น
                 หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน
                  ผมไม่ต้องการไปเที่ยวกับคุณ
๑๐. ประพันธวิเศษณ์คือ คำที่ใช้เชื่อมคำอื่น โดยมีคำว่า  ที่ ซึ่ง อัน ดังที่ เพื่อว่า อย่างที่ ชนิดที่  ที่ว่า คือ เพื่อว่า เช่น
               จงทำอย่างที่ฉันสั่ง
               เขากินชนิดที่คนอื่นไม่กล้ามอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้องหน้าที่ของคำวิเศษณ์
๑. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  เช่น
บ้านสวยราคาไม่แพง  (สวย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม บ้าน)
๒. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า  เช่น
ฉันเองเป็นคนบอกความจริงแก่เขา (เอง เป็นวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม  ฉัน)
๓. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำกริยา  เช่น
คนตื่นเช้ามักได้เปรียบคนอื่น  (เช้า เป็นคำวิเศษณ์แสดงเวลาทำหน้าที่ขยายคำกริยา  ตื่น)
๔. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง  เช่น
นางสาวไทยคนนี้มีหน้าตาสวยมาก (มาก เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวนที่ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ สวย)
ความรู้เพิ่มเติมจร้าาาาาาาา


👉👉👉👉คลิกๆๆๆๆๆๆๆ👈👈👈👈

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น